วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

คลายความกังวลปุ่มลิมิเต็ดสลิป กดได้หรือไม่ตอนรถวิ่ง FORD CarGURU-By Setthi

คลายความกังวลปุ่มลิมิเต็ดสลิป 
กดได้หรือไม่ตอนรถวิ่ง FORD 
CarGURU-By Setthi                                

เนื้อเรื่อง:เศรษฐี
ภาพประกอบ:เศรษฐี
สนับสนุน:ฟอร์ดพัทลุง จ.วินิต 074-610947

"Limited Slip" สาวกกระบะยกสูงคงจะคุ้นหูกันดี เเละคงทราบถึงประโยชน์ของมัน เพราะเฟืองท้ายเหล่านี้มักอยู่ในรถยกสูงเสียเป็นส่วนใหญ่ เเต่คงอาจยังมีอีกหลายๆคนที่ยังไม่เคยทราบถึงหน้าที่ของเจ้าเฟืองท้าย ลิมิเต็ดสลิป  
หน้าที่ของเฟืองท้ายโดยทั่วไปในรถกระบะจะออกเเบบมาให้ล้อ2ล้อซ้ายขวาสามารถหมุนเเยกออกจากกันได้เพื่อเวลารถเข้าโค้งจะได้เข้าโค้งได้ง่ายขึ้นเพราะถ้าล้อสองล้อมีเเกนติดกันหมุนพร้อมกันตลอดเวลา กรณีเข้าโค้งรถอาจพริกคว่ำหรือพูดง่ายๆเข้าโค้งยากเเน่นอน  (Carguru-bysetthiขออนุญาติใช้คำบ้านๆสื่อสาร) เเต่พอล้อ2 ล้อซ้ายขวาหมุนเเยกกัน ข้อเสียคือ  ในทางที่ลื่นหรือติดหล่ม รถจะไม่สามารถขับเคลื่อนรถต่อไปได้เพราะล้อฝั่งที่ยุในที่ลื่นหรือฝั่งที่ลอยกลางอากาศจะหมุนฟรีสาเหตุที่หมุนฟรีก็เพราะล้อมันเเยกการทำงานกัน เเต่ล้อล้อที่อยู่บนพื้นก็ไม่มีกำลังไม่มีกำลัง เพราะเฟืองท้ายทั่วไปเเบ่งกำลังซ้ายขวาเเยกกันเพื่อการเข้าโค้งเพราะการเลี้ยวล้อรถไม่สามารถหมุนเท่ากันได้ถ้าล้อหมุนเท่ากันรถอาจคว่ำ เเละด้วยเหตุผลนี้จึงมีการคิดค้นเฟืองท้าย "ลิมิเต็ดสลิป" ขึ้น 
โดยใช้เทคนิคการส่งกำลังไปยังล้อที่สูญเสียกำลังของล้อฝั่งใดฝั่งนึงเมื่อ
เกิดการลื่นหรือล้อหมุนฟรี ด้วยการใช้การถ่ายกำลังผ่านชุดคลัชที่ออกเเบบเพิ่มเข้าไปในเฟืองท้าย หรือผ่านเเรงกดของสปริง เเล้วเเต่จะออกเเบบมาในรูปแบบใด เพื่อช่วยในการสูญเสียกำลังของล้อเวลาติดหล่มหรือลื่น  "เเต่ สิ่งที่จะรีวิวคอลัมน์นี้ คือ ปุ่มกดล๊อกเฟืองท้ายเเบบไฟฟ้า เเต่หลายคนคุ้นชินกับลิมิเต็ดสลิป เเต่ระบบล๊อกเฟืองท้ายไฟฟ้ามีชื่อเรียกหลายรูปเเบบตามศักยภาพการออกแบบเลยขออนุญาตเหมารวม เป็นลิมิเต็ดสลิป ว่าใช้งานได้หรือไม่กรณีรถวิ่งอยู่ 
 เพราะฉนั้น Carguru-bysetthi จึงพามาทำความรู้จัก ลิมิเต็ดสลิปกันก่อนเบื้องต้น ไม่งั้นจะงง ว่ามันคืออะไร

เลื่อนลงด้านล้างเพื่อดูวีดีโอ
เลื่อนลงล่างสุดเพื่ออ่า่นหลักการทำงานของ ลิมิเต็ดสลิป
***โปรดอ่านหมายเหตุด้านล่างด้วยครับ



ขอบคุณวีดีโอจาก youtube channel ช่อง Carguru-bysetthi


หลักการทำงานของลิมิตเต็ดสลิป 
เมื่อล้อข้างใดข้างหนึ่งหมุนฟรีกำลังขับเคลื่อนจะถูกส่งไปยังล้อที่ไม่หมุน หรือหมุนช้ากว่า ทำให้ล้อที่หยุดนิ่งมีกำลังที่จะดันรถไปต่อได้ การออกเเบบกลไกข้างในมีหลายรูปแบบ เเต่หลักการก็จะมาจากการที่จะให้ถ่ายกำลังจากล้อที่หมุนฟรีไปยังล้อที่หยุดอยู่ 

ประโยขชน์ ของ ลิมิเต็ดสลิป
ประโยชน์หลักๆเเน่นอนคือการเจอหล่มหรือโคลน ถนนลื่นต่างๆเฟืองท้ายลิมิเต็ดสลิปก็สามารถถ่ายกำลังไปให้ล้อที่ตรงกันข้ามกับล้อหมุนฟรีได้เพื่อขับเคลื่อนไปต่อได้ 

ปุ่มลิมิเต็ดสลิปในรถยนต์F O R D 
การใช้งาน ให้กดปุ่มลิมิเต็ดสลิป โดยการกด ให้กด เเช่สัก 1 วินาที ไม่ว่าจะเปิดหรือปิด
ข้อดีของรถ F O R d ปุ่มลิมิเต็ดสลิปสามารถ กดได้ในขณะที่รถวิ่ง เเต่ความเร็วต้องไม่เกิน 30
กรณีรถวิ่งเกิน 30 สามารถกดปุ่มได้เเต่ระบบจะไม่ทำงาน ระบบจะกลับมารับคำสั่งครั้งนี้หลังจากเราลดความเร็วต่ำกว่า 30 โดยจะกลับมาเปิดเองอัตโนมัติ
กรณีเปิดใช้งานอยู่เเล้วเผลอเร่งความเร็วเกิน 30 ระบบจะตัดการใช้งานเองอัตโนมัติ

****หมายเหตุ
ระบบล๊อกเฟืองท้ายไฟฟ้ามีหลายชื่อเเละหลายรูปเเบบศักญภาพเเล้วเเต่การออกเเบบ 
ลิมิเต็ดสลิปในบางรุ่นอาจไม่มีปุ่มกดอาจใช้หลักการรอการหมุนฟรีเเล้วค่อยจับล๊อกล้อที่หมุนฟรีเพื่อถ่ายกำลังไปยังอีกล้อผ่านกลไกที่ออกเเบบไว้ในเฟืองท้าย เเละบางรุ่น อาจ ถูกพัฒนาเเละใช้งานได้ดีกว่าเเละอาจมีชื่อเรียกเเตกต่างกันไปเช่น เรียก locking diferential เป็นต้น หรือบางคนอาจเรียก diff lock 
วัตถุประสงค์ในคอลัมนี้ เพีบงอยากสื่อสาร การใช้ปุ่ม ล๊อกเฟืองท้ายไฟฟ้าเท่านั้น

คำถามที่พบบ่อยในการใช้ปุ่มลิมิเต็ดสลิป?
1.รถวิ่งอยู่กดเปิดได้หรือไม่?
ข้อดีของรถ F O R d ปุ่มลิมิเต็ดสลิปสามารถ กดได้ในขณะที่รถวิ่ง เเต่ความเร็วต้องไม่เกิน 30

2.กรณีรถวิ่งอยู่ในความสูงๆเเล้วเผลอไปกดจะเป็นอันตรายหรือไม่?
กรณีรถวิ่งเกิน 30 สามารถกดปุ่มได้เเต่ระบบจะไม่ทำงาน ระบบจะกลับมารับคำสั่งครั้งนี้หลังจากเราลดความเร็วต่ำกว่า 30 โดยจะกลับมาเปิดเองอัตโนมัติ

3.หากเปิดใช้งานลิมิเต็ดสลิปเเล้วลืมปิด เเล้วดันใช้ความเร็วสูงจะอันตายหรือไม่
รถ F O R D กรณีเปิดใช้งานอยู่เเล้วเผลอเร่งความเร็วเกิน 30 ระบบจะตัดการใช้งานเองอัตโนมัติ

เเละนี่ก็คือข้อดีของรถยนต์ F O R D เเละคำถามเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เข้ามาอ่านเเละติดตาม Carguru-bysetthi ยังคงสามารถติดตามกันได้ทุกช่องทางสะดวกเช่นเคย 






https://www.youtube.com/results?search_query=carguru-bysetthi



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น